อาคารพาณิชย์ หรือออฟฟิศ ก็จะมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ บางอาคารเดินท่อลมสังกะสี บางอาคารก็ใช้แอร์แบบแยกส่วน ซึ่งค่าไฟจากการใช้เครื่องปรับอากาศก็แพงหูฉี่ ยิ่งในฤดูร้อนช่วงเดือน มีนา หรือ เมษา นี่ไม่ต้องพูดถึงเลย… นอกจากค่าไฟที่แพงแล้วแอร์ยังไม่เย็นอีก

มีวิธีมากมายในการช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ทั้งเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง การออกแบบระบบปรับอากาศให้เกิด pressure drop ต่ำๆ การเลือกใ้สีที่สะท้อนความร้อน หรือ การเปิดแอร์เฉพาะจุดที่ใช้ วิธีเหล่านี้เป็นการใช้พลังงานอย่างให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่ถ้าเรามองในอีกมุมหนึ่ง

อาคารพาณิชย์ หรือสำนักงานออฟฟิศเนี่ยส่วนที่รับความร้อนเข้ามามากที่สุดก็คือผนัง ความร้อนจากแดดด้านนอกพยายามเข้ามาจากผนังในทุกๆด้าน ถ้าเราสามารถกักเก็บความเย็นของแอร์ไว้ในอาคารได้นานๆ ส่วนความร้อนที่มาจากรอบผนังเข้ามาได้ช้าๆ เราก็จะจ่ายค่าแอร์ลดลงน่ะสิ่

CLEAN ROOM WALL

งานฉนวนกันความร้อนผนัง คืออะไร?

ตึกสำนักงาน หรืออาคารพาณิชย์ ค่าไฟฟ้า 80% คือค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศ เรียกได้ว่าเป็นมูลค่ามหาศาล และความร้อนจะเข้าทะลุเข้ามาจากส่วนของผนัง ทุกด้านของอาคารทำให้แอร์ของเราต้องทำงานมากขึ้นเพื่อทำให้ห้องของเราเย็นเหมือนเดิม

แล้วเราจะทำอย่างไรให้ความร้อนเข้ามาไม่ได้และ เก็บความเย็นไว้ในอาคารนานๆ เราจะได้ไม่ต้องเสียค่าแอร์เยอะ! งานฉนวนกันความร้อนผนังจึงเข้ามาเติมในส่วนนี้ ฉนวนกันความร้อนจะช่วยป้องกันไม่ให้ความร้อนทะลุผ่านกำแพงเข้ามาได้ ถ้าความร้อนเข้ามาไม่ได้แล้วแอร์ก็คงจะถูกลง

ฉนวนกันความร้อนผนังมีแบบไหนบ้าง ต่างกันอย่างไร?

ฉนวนกันความร้อนที่ใช้กับงานผนังจะมีทั้งชนิดโฟมพีอี ,ยางดำ ,ใยแก้ว และใยหิน การเลือกใช้วัสดุจะมีหลักการดังนี้

ตารางแสดงคุณสมบัติวัสดุฉนวนใยแก้ว และ ฉนวนใยหิน

วัสดุ ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน
ค่าการนำความร้อน
Thermal Conductivity
0.032 – 0.042 W/m.K 0.033 – 0.036. W/m.K
ความหนาแน่น 12 – 48 กิโลกรัม/ลูกบากศ์เมตร 40 – 100 กิโลกรัม/ลูกบากศ์เมตร
ความหนาฉนวน 25 – 100 มิลลิเมตร 25 – 100 มิลลิเมตร
ราคา 95 – 416 บาท/ตารางเมตร 180 – 1130 บาท/ตารางเมตร
DIFFERENTBETWEEN ROCKWOOL AND GLASSWOOL

ตารางแสดงคุณสมบัติวัสดุฉนวนยางดำ และ ฉนวนPE

วัสดุ ยางดำ PE
ค่าการนำความร้อน
Thermal Conductivity
0.033 W/m.K 0.029 W/m.K
ความหนาฉนวน 3 – 50 มิลลิเมตร 5 – 25 มิลลิเมตร
ราคา 165 – 1750 บาท/ตารางเมตร 1ถ0 – 550 บาท/ตารางเมตร
COMPARE RUBBER AND PE

การพิจารณาเลือกซื้อฉนวนสำหรับงานผนัง

1.) ค่าการนำความร้อนต้องต่ำเพื่อที่จะให้ความร้อนเข้ามาได้น้อยที่สุด

2.) การติดตั้งฉนวนสำหรับผนังจะสามารถทำได้โดยการ เพิ่มผนังอีก 1 ชั้นและใส่ฉนวนระหว่างผนัง 2 ด้าน หรือติดตั้งโครงคร่าวและใช้แผ่นสมาทบอร์ด หรือแผ่นยิปซัมปิดทับ ดังนั้นความหนาของฉนวนจะมีผลต่อราคาโครงสร้างที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง

3.) ถ้าผนังกันความร้อนที่ติดตั้งต้องการคุณสมบัติเรื่องของการตัดเสียงรบกวน ฉนวนใยแก้วและฉนวนใยหินจะมีประสิทธิภาพมากกว่าในเรื่องของการลดเสียงรบกวน เช่นอาคารอยู่ติดถนนใหญ่ที่มีการจราจรหนาแน่นก็ควรใช้ฉนวนใยแก้วหรือใยหิน แต่ถ้าที่ติดตั้งอยู่สูงเสียงรบกวนจากภายนอกน้อย และค่าก่อสร้างยิ่งสูงยิ่งแพงก็สามารถใช้ฉนวนชนิดยางดำหรือโฟมPE ได้

ยางดำและโฟมPE จะมีประสิทธิ์ภาพในการกันเสียงน้อยกว่าแต่น้ำหนักจะเบากว่าฉนวนใยแก้วและฉนวนใยหินทำให้ช่วยลดค่าโครงสร้างลงได้

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนผนัง

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนผนัง มีหลักๆ 2 วิธีการ

1.) ก่อผนังอิฐ 2 ชั้นโดยเว้นช่องว่างระหว่างผนังตามความหนาฉนวนที่ใช้ ( 50 – 100 มิลลิเมตร ) และนำฉนวนกันความร้อนสอดเข้าระหว่างช่องผนัง วิธินี้ผนังจะมีความแข็งแรงเพราะทำจากอิฐมีโครงร่างแข็งแรง แต่จะมีค่าก่อสร้างที่สูง

BRICKWALL INSTALL INSULATION

2.) ตีโครงคร่าวผนัง 50 – 100 มิลลิเมตรออกจากผนัง ติดตั้งฉนวนในโครงคร่าวผนังและปิดผิวฉนวนด้วยแผ่นยิปซัมหรือแผ่นสมาทบอร์ด วิธีนี้โครงสร้างจะไม่แข็งแรงเท่าแบบที่ 1 แต่จะมีค่าก่อสร้างที่ถูกกว่า

DRY WALL INSTALL INSULATION

สินค้าที่เกี่ยวกับงานผนัง